บทสวดมนต์
พุทธศาสนิกชนมีวัตรปฏิบัติในการทำบุญกุศลและสร้างบารมีนั้น ก็คือทำในหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญาสำหรับบรรพชิต ส่วนฆราวาสหรือคฤหัสถ์ทั่วไป ก็จะทำในลักษณะของ "ทาน" "ศีล" และ"ภาวนา" เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ขาดเลยไม่ได้ อุปมาเหมือนกับว่าหากเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริงแล้วไม่ได้ทำการ สวดมนต์ หรือ สาธยายมนต์ ก็เหมือนกับ การทานข้าวแต่ไม่ได้ดื่มน้ำยังใงก็อย่างนั้นเลยทีเดียว
ซึ่งในการสวดมนต์นั้น จะเลือกสวดพระคาถาไหนก็ได้ที่ดี ซึ่งพระพุทธองค์ และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าท่านได้สั่งสอนและมอบไว้ให้ก็ดีทั้งนั้น แต่ถ้าให้ดีมีพุทธคุณ และพุทธานุภาพมากที่สุดก็คือว่า เป็นมนต์หรือเป็นพระคาถาที่ออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง ก็จะมีพุทธานุภาพ และมีความศักดิ์สิทธิ์สูงสุดเหนือผู้ใดทั้งหมดทั้งปวง
ถึงกระนั้นก็ตาม พระคาถาที่เป็นบทสวดมนต์ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานแต่มีพุทธคุณมากที่สุด ซึ่งพระอรหันต์สาวกของพระพุทธองค์ได้บัญญัติและเรียบเรียงไว้ให้ทีหลัง ก็คือบทสวดมนต์ปกตินี้เอง หรือจะเรียกว่า พุทธชัยมงคลคาถา ก็ได้ โดยสวดตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. บูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ
๒. กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
๓. ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง, สัพพัง เม โทสัง, ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง, สัพพัง เม โทสัง, ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ สังฆัง, สัพพัง เม โทสัง, ขะมะถะ เม ภันเต
๔. อาราธนาศีล๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
๕. นมัสการพระพุทธเจ้า(นะโม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ จบ)
๖. ไตรสรณคมน์(พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
๗. คำสมาทานศีล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการกล่าวคำเท็จ
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
๘. พระพุทธคุณ(อิติปิโส)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ(กราบ)
๙. พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ(กราบ)
๑๐. พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีดย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสิฯ(กราบ)
๑๑. พุทธชัยมงคลคาถา(พาหุงฯ)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเต โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัมหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
๑๒. มหาการุณิโก
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยามูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเกสัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธิ เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
๑๓. พุทธคุณเท่าอายุเกิน๑(อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
หมายเหตุ :
๑. อานิสงส์(ประโยชน์)การสวดพุทธชัยมงคลคาถานั้น มีมากมายหลายประการ ดังต่อไปนี้
บทพุทธคุณ : มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ คุ้มครองป้องกันภัยสะเดาะห์แก้กรรมได้สารพัดนึก
บทธรรมคุณ : มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ เสริมปัญญาบารมี
บทสังฆคุณ : มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ มีเสน่ห์เป็นเมตตามหานิยม
บทที่๑ : มีอานุภาพและป้องกันภูตผีปีศาจได้
บทที่๒ : เสกเมื่อจะกินยา สะเดาะโรคให้หาย
บทที่๓ : ใช้ภาวนาเวลาจะเข้าป่า ป้องกันสัตว์ร้ายได้
บทที่๔ : ภาวนาเวลาไปต่างเมืองจะได้ลาภสักการะ มีคนรักคนหลง
บทที่๕ : ภาวนาแล้วทำให้ศัตรูใจอ่อนกลายเป็นมิตร
บทที่๖ : ภาวนาแล้วพูดจาจะมีคนเชื่อถือ เจรจาการงานสำเร็จ
บทที่๗ : ภาวนาเสกเป่าแก้พิษของอสรพิษทุกชนิด
บทที่๘ : เมื่อผจญภัยจะได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มาร
ผู้ใดสวดทุกวันจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งหน้าที่การงาน การเงิน บุตรหลานจะเป็นคนดี และครอบครัวมีแต่ความสุข
๒. ที่ต้องให้สวดตอนท้ายคือ พุทธคุณเท่าอายุเกิน๑(อิติปิโสเท่าอายุ+๑) หมายความว่า ถ้าหากว่ามีอายุ๕๐ ปี ก็ให้สวด๕๑ จบ(รอบ)
๓. พระคาถานี้มีพุทธคุณ ครอบจักรวาลอันเนื่องมาจากว่า เป็นการสาธยายคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้บำเพ็ญบุญบารมีมาอย่างอเนกอนันต์ ทำให้สามารถปราบกิเลสและพญามารตลอดจนเสนามารทั้งหลายที่มากด้วยฤทธิ์เดชเพียงใดก็ตามพระองค์ก็สามารถเอาชนะได้ ซึ่งมีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถจะกระทำได้อย่างนี้ หากใครสวดมนต์นี้อยู่เป็นประจำด้วยความเชื่อมั่นและเลื่อมไสศรัทธา ก็จะกระทำการใดๆที่เป็นธรรมก็สำเร็จดังใจปรารถนา ซึ่ง หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ท่านได้สอนลูกศิษย์ไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้ง๒ พระองค์นี้ สวดพระคาถานี้อยู่เป็นประจำ จึงทำให้พระองค์สามารถทำการใหญ่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถึงแม้จะมีปัญหาอุปสรรค และมีศัตรูที่ยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามเพียงใดก็ตาม ซึ่งทั้ง๒ พระองค์ก็สามารถปราบศัตรูหมู่มาร และคู่อริที่มารุกรานพระองค์ และสยามประเทศของเราลงได้อย่างราบคาบ ดังที่ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรานั้นเอง
๔. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ท่านเน้นย้ำกับลูกศิษย์และพุทธศาสนิกชนอยู่เสมอว่า สวดมนต์ภาวนาเป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่เมตตา
๕. การสวดมนต์นั้นทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่เหมาะสม เช่น ก่อนนอนหรือสวดในห้องพระที่บ้านหรือที่เหมาะสมที่ใดก็แล้วแต่ เป็นต้น ให้กระทำตามขั้นตอนทั้งหมดที่ให้มานี้ทั้ง๑๓ ขั้นตอน ก็จะเกิดอานิสงส์มาก โดยจะสวดออกเสียงหรือไม่ออกเสียงก็ได้ แต่ถ้าออกเสียงก็จะได้อานิสงส์มากกว่า เพราะเทวดาจะร่วมสวดและอนุโมทนาร่วมด้วย รวมทั้งวิญญาณสัมภเวสีเร่ร่อน เจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือนจะร่วมฟัง และอาจร่วมสวดด้วยก็ได้ เป็นต้น หลังจากนั้นก็ให้นั่งทำ สมาธิ หรือถ้าหากสามารถทำ วิปัสสนากรรมฐานได้จะวิเศษมากถึงมากที่สุด แล้วจึงค่อยทำการขออโหสิกรรม อุทิศส่วนกุศล และแผ่เมตตาตามลำดับ ก็จะวิเศษและสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว