การสร้างความร่ำรวยแบบยั่งยืน
พนพ เกษามา
นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.........................................................................................................
๑.บทนำ
ในการดำรงชีวิตในทางโลกของมนุษย์ปุถุชนธรรมดานั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีหรือการเป็นเจ้าของและครอบครองทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมากหรือเรียกว่า ความร่ำรวยนั้น เป็นสี่งที่ทุกคนปรารถนาและต้องการ อันเนื่องมาจากว่าทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นจะสามารถบันดาลความสุขในทางโลกหรือเรียกว่า โลกียสุขได้ ซึ่งก็คือ ความสุขอย่างโลกีย์,ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก,ความสุขที่ประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดจนถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข จึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายได้มีความพยายามแสวงหาทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์และรักษาซึ่งทรัพย์เหล่านั้นด้วยแนวทางและวิธีการต่างๆ ที่คิดว่าเป็นแนวทางและวิธีการที่ดี มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด แต่จากประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีตและจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่ผ่านมา พบว่าแนวทางและวิธีการแสวงหา การใช้จ่าย และการรักษาซึ่งทรัพย์นั้น มีความแตกต่างกันและมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลไม่เท่ากัน แต่มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่าบุคคลหรือองค์กรที่มีหลักการหรือแนวทางและวิธีการที่ดีก็จะทำให้กลายเป็น คนร่ำรวยหรือเป็น เศรษฐีหรือ คหบดีได้ ส่วนผู้ที่หรือองค์กรที่มีหลักการหรือแนวทางและวิธีการที่ไม่ดี ก็จะมีทรัพย์สินเงินทองไม่มากหรือจัดว่าเป็น คนยากจน หรือ คนอนาถาก็มีอยู่มาก ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าผู้ดำรงชีวิตนทางโลก(โลกียะ)จะใช้แนวทางในการสร้างความร่ำรวยหรือการดำเนินธุรกิจโดยนิยมใช้และให้การศึกษาหรือสั่งสอนตลอดจนเรียนรู้ในเรื่องของ เศรษฐกิจทุนนิยมหรือ บริโภคนิยม หรือ บริโภควิบัติหรือ วัตถุนิยม เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การสอนและการแต่งหนังสือของกูรูด้านการสร้างความร่ำรวยที่มีแม่แบบแผนและคำสอนเป็นที่ยอมรับแพร่หลายกันทั่วโลกคือ เรื่อง เงินสี่ด้าน หรือ Cashflow Quadrant ซึ่งแต่งหนังสือออกมาชื่อว่า พ่อรวยสอนลูกหรือ Rich Dad Poor Dad โดย โรเบิร์ต ที. คิโยชากิ และชารอน แอล. แลชเตอร์ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังและหนังสือเล่มนี้ขายดีมากทั่วโลกและแปลเป็นหลายภาษาอีกด้วย โดย เงินสี่ด้านนี้ก็คือ ลูกจ้าง คนทำธุริจส่วนตัว เจ้าของกิจการ และ นักลงทุน แต่ก็พบว่าในระยะยาวของชีวิตของผู้ที่ใช้หลักคิดและวิธีการตามที่สอนนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของตัวเองและชีวิตของธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจที่ใช้แนวทางและวิธีการตามที่สอนนี้ ว่าพบกับ ความร่ำรวยแบบยั่งยืน และในชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตองค์กรธุรกิจก็ไม่ได้ร่ำรวยและยั่งยืนยาวนานอย่างที่ควรจะเป็นไป แต่จากการศึกษาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาของพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากประวัติศาสตร์ของคนร่ำรวยหรือมหาเศรษฐีหรือคหบดีในสมัยพุทธกาล พบว่ามีคำสอนเกี่ยวกับหลักการหรือแนวทางและวิธีการในการแสวงหาทรัพย์ การใช้จ่ายทรัพย์และการรักษาซึ่งทรัพย์ให้ดีมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดมีอยู่ ซึ่งเรียกว่า ทิฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม๔ ซึ่งพระอริยสงฆ์ของประเทศไทยหลายรูปด้วยกัน ยังได้สอนลูกศิษย์ด้วยว่าเป็น พระคาถาหัวใจเศรษฐีอีกด้วย โดยพระธรรมคำสั่งสอนของทิฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม๔นี้ประกอบไปด้วยหลักธรรม๔ ประการ คือ อุฏฐานสัมปทาหรือการถือหมั่น อารักขสัมปทาหรือการถึงพร้อมด้วยการรักษา กัลยาณมิตตตาหรือการคบคนดีเป็นมิตร สมชีวิตาหรือการมีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม โดยสามารถย่อเป็นประโยคสั้นให้จำได้ง่ายๆ คือ อุ อา กะ สะ หรือเป็นคำกลอนสอนใจที่ว่า ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม หรือ ขยัน หมั่นรักษา คบหาคนดี มีชีวิตพอเพียงดังจะแสดงรายละเอียดของความหมายและแนวทางสร้างความร่ำรวยของทั้ง๒ แนวทาง เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติสู่ความร่ำรวยอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้
๒. เงินสี่ด้านตามแนวทางของ พ่อรวยสอนลูก
โดยโรเบิร์ต ที.คิโยซากิ และ ซารอน แอล. แลชเตอร์ ได้นำเสนอการสร้างความร่ำรวยอย่างรวดเร็วในหนังสือ พ่อรวยสอนลูกหรือRich Dad Poor Dad โดยนำเสนอเป็นคำสอนระหว่างแนวคิดระหว่าง พ่อจนหรือ Poor Dad กับ พ่อรวยหรือ Rich Dad ซึ่งแนวความคิดและคำสอนของพ่อรวยจะทำให้สร้างความร่ำรวยได้มากและรวดเร็วกว่าพ่อจน อีกทั้งยังได้สั่งสอนอีกว่า เงินสี่ด้านหรือ Cashflow Quadrant คือ ด้านที่๑ การเป็น ลูกจ้างหรือ พนักงาน หรือ Employee หรือE ด้านที่๒ คือ การเป็น คนทำธุรกิจส่วนตัวหรือ Self-EmployedหรือS ด้านที่๓ คือ การเป็น เจ้าของกิจการหรือ Business OwnerหรือB และด้านที่๔ คือ การเป็น นักลงทุนหรือ InvestorหรือI กล่าวโดยสรุปก็คือการที่จะร่ำรวยอย่างรวดเร็วและ เป็นอิสระทางการเงินจะต้องเปลี่ยนจากด้านที่๑ คือ การเป็นลูกจ้าง(E)และ๒ คือ การเป็นคนทำธุรกิจส่วนตัว(S) ไปอยู่ในด้านที่๓ คือ การเป็นเจ้าของกิจการ(B)และ๔ คือ การเป็นนักลงทุน(I) จึงจะสามารถสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วและสามารถเป็นอิสระทางการเงินได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะร่ำรวยอย่างยั่งยืนและมีความสุขอย่างแท้จริง เพราะจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็ยังพบว่าคนรวยที่เป็นเจ้าของกิจการ(B)และนักลงทุน(I) ก็ล้มเหลวในด้านการเงินและครอบครัวตลอดจนประเทศชาติทีมุ่งเน้นและปลูกฝังคำสอนกันแบบนี้ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและล้มเหลวตลอดจนได้สร้างความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วทั้งโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นต้น
โดยรูปแบบของ เงินสี่ด้านหรือ Cashflow Quadrant สามารถแสดงให้เห็นดังรูปที่๑ ดังต่อไปนี้
ด้านที่๑
ลูกจ้าง(Employee;E)
-มีรายได้เป็นเงินเดือนที่นายจ้างให้
-ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง
-ขาดอิสรภาพต้องอยู่ในกฎของนายจ้าง
-ไม่รับประกันการว่างงานหรือตกงาน
-รายได้กับรายจ่ายมีมากพอกัน
-ฯลฯ |
ด้านที่๓
เจ้าของกิจการ(Business Owner;B)
-มีทุน
-หาคนเก่งๆมาทำงานให้ได้
-ไม่ต้องทำงานแต่มีรายได้
-มีหลายประเภท เช่น บริษัท แฟรนไซน์ เป็นต้น
-มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นได้มาก
-ฯลฯ |
ด้านที่๒
คนทำธุรกิจส่วนตัว(Self-Employed;S)
-ขายเวลาให้ตัวเองทำงาน
-มีรายได้ไม่มาก
-สู้คู่แข่งที่ทุนและทรัพยากรมากกว่าไม่ได้
-ทนทำเพราะตัวเองชอบ
-มีอิสรในงานแต่ไม่มีอิสรภาพทางการเงิน
-ฯลฯ |
ด้านที่๔
นักลงทุน(Investor;I)
-ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน
-ใช้เงินทำงานให้ตัวเอง
-มีรายได้จากผลตอบแทนและดอกเบี้ย
-มีอิสระและอิสรภาพทางการเงิน
-มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นได้มาก
-ฯลฯ |
ภาพที่๑ เงินสี่ด้าน หรือ Cashflow Quadrant |
๓.ทิฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม๔
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระธรรมคำสั่งสอน เรื่อง ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม๔ คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น ธรรมหมวดนี้เรียกสั้นๆว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆว่า ทิฏฐธัมิกัตถประโยชน์ มี๔ ข้อ คือ
๓.๑ อุฏฐานสัมปทา หรือ อุ หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงานประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธีให้สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับการทำให้พ่อค้ารวย หรือเหตุทำให้พ่อค้ารวยหรือ หลักพ่อค้าหรือ องค์คุณของพ่อค้าหรือเรียกอีกย่างหนึ่งว่า ปาปณิกธรรม หรือ ปาปณิกังคะซึ่งมีหลักธรรม๓ ข้อคือ ๑.จักขุมา ๒.วิธูโร ๓.นิสสยสัมปันโน โดยการที่จะขยันหมั่นเพียรหาทรัพย์สินเงินทองนั้นจำเป็นจะต้องใช้หลักธรรม จักขุมา คือ การมีตาดี รู้จักสินค้า ดูของเป็น สามารถคำนวณราคา กะทุนเก็งกำไรได้อย่างแม่นยำซึ่งก็คือการที่จะต้องมีสายตายาวไกลมองเห็นภาพในอนาคตที่ดีและถูกต้องเหมาะสมกับกาลและเวลาว่าจะทำธุรกิจหรือค้าขายอะไรหรืออย่างไรดีในกาลเวลาหรือสภาวะแบบนั้น ซึ่งภาษาทางโลก(โลกียะ)หรือในทางการบริหารธุรกิจนั้นเรียกกันว่า วิสัยทัศน์หรือ Visionนั้นเอง ส่วน <SPAN lang=TH style="FONT-SIZE: 14pt; FONT-FAMILY: 'Angsana New'; mso-ascii-font-family: 'Times New Roman'; mso-hansi-font-family: 'Times New Roman'; mso-ansi-font |